กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10015
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing depression mong secondry school students in extended eductionl opportunity schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงใจ วัฒนสินธุ์
ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
ประภัสสร จันดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความซึมเศร้า
ความซึมเศร้าในวัยรุ่น
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า เนื่องจากต้องเผชิญกับการปรับตัวที่หลากหลาย การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทํานายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จํานวน 160 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 7 ส่วน ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความฉลาดทางสังคม แบบประเมินความผูกพันในครอบครัว แบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน แบบประเมินพฤติกรรมติดเกมออนไลน์ และแบบประเมินพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89, .90, .83, .80, .80 และ .94 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 65.60จําแนกเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลางร้อยละ 28.90 และรุนแรงร้อยละ 36.90 ส่วนผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า ความผูกพันในครอบครัว (β = -.53, p< .001) ความผูกพันใกล้ชิดกับ เพื่อน (β = -.23, p< .001) พฤติกรรมติดเกมออนไลน์ (β = .18, p< .01) และพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์ (β = .18, p< .05) มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า โดยสามารถร่วมกันทํานายภาวะซึมเศร้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาได้ร้อยละ 52.30 (R 2 = .523, p< .05) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นวาภาวะซึมเศร้าในนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสําคัญที่ทีมสุขภาพจิตควรตระหนักและควรจัดให้มีโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตเพื่อป้องกันหรือลดภาวะซึมเศร้าโดย การเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว ความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมติดเกมออนไลน์และพฤติกรรมติดสนทนาออนไลน์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10015
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920242.pdf2.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น