กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10009
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors predicting preventive behvior regrding dverse effects of cigrette smoke mong pregnnt women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพิศ ศิริอรุณรัตน์
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
ศิริวรรณ ผูกพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: บุหรี่ -- ผลกระทบทางสรีรวิทยา
ควันบุหรี่
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การสูบบุหรี่ของบุคคลในครอบครัวเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมารดา และทารกในครรภ์ การรักษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่และการสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลพระนารายณ์ มหาราช จังหวัดลพบุรี จำนวน 130 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันอันตรายจากควัน บุหรี่แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .71, .86, .87, .81 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่เฉลี่ย เท่ากับ 31.53 (SD = 4.68) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ (β = .63, p< .001) และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ (β = -.16, p = .026) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ได้ร้อยละ 50.9 (R 2 = .509, F (2, 127) = 65.72, p< .001) ผลการศึกษานี้สามารถนำผลการศึกษานี้ไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของสามีหรือสมาชิกในครอบครัวในการป้องกันอันตรายจากควันบุหรี่ในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10009
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920073.pdf2.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น